ยางนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb.ex. G.Don
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
อาณาจักร : Plantae
ชื่อพื้นเมือง : ยางนา ยาง
ชื่อทางการค้า : ยางนา

คุณลักษณะ

ไม้ต้น ตายอดมีขนยาวหนาแน่น ใบรูปรีหรือรูปไข่ ช่อดอกยาวได้ถึง 10 ซม. ช่อแยกแขนงยาว 3–7 ซม. มี 3–5 ดอก หลอดกลีบเลี้ยงมีครีบตามยาว 5 สัน กลีบยาว 2 กลีบ ยาว 1–1.5 ซม. กลีบสั้น 3 กลีบ ยาวประมาณ 5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 3 ซม. เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูมี 4 ช่อง รูปแถบ แกนอับเรณูยื่นเลยอับเรณูเล็กน้อย รังไข่มีขนสั้นนุ่ม หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลมี 5 สัน เป็นปีกกว้าง 0.5–1 ซม. ปีกยาว 2 ปีก ยาว 8–13 ซม. ปีกสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 ซม. ขอบพับกลับ

การกระจายพันธุ์

อินเดียรวมหมู่เกาะอันดามัน ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่ราบลุ่ม

เกร็ดความรู้

ชันและน้ำมันยางใช้ในอุตสาหกรรมทำสี น้ำมันเคลือบเงา ใช้ทาลดอาการปวด ฆ่าเชื้อ

แหล่งที่มา

สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) ฯTropical Plants Database