เหมือดโลด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aporusa villosa Lindl. Baill.
วงศ์ : PHYLLANTHACEAE
ชื่อพื้นเมือง : กรม (ใต้); ด่าง แด่งพง (สุโขทัย) ; ตีนครึน พลึง โลก (กลาง) ; ประดงข้อ (พิจิตร) เหมือดควาย เหมือดตบ (เหนือ) เหมือดหลวง (เชียงใหม่) เหมือดใหญ่ โลด
คุณลักษณะ

ไม้ต้น เปลือกเป็นร่องลึกตามยาว แยกเพศต่างต้น แผ่นใบค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ขอบใบมีต่อม ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ คล้ายช่อเชิงลด ออกตามซอกใบและกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุก 2–6 ดอก กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มี 3–6 แฉก มีขน เกสรเพศผู้ 2–3 อัน ดอกเพศเมียออกป็นกระจุก 1–4 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ช่อสั้น รังไข่มีขนหนาแน่น ผลแยกแล้วแตก รูปไข่ ปลายเป็นติ่งแหลม เมล็ดมีเยื่อหุ้ม

การกระจายพันธุ์

พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

เกร็ดความรู้

คล้ายกับ Aporosa octandra var. yunnanensis มาก แต่มีโคนใบกว้าง กลม หรือเว้า และขอบใบจักน้อยกว่า ผลกินได้

แหล่งที่มา

Flora of Thailand Vol. 8(1): 102-103.