แดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylia xylocarpa Taub. var. kerrii Nielsen
วงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
คุณลักษณะ

ไม้ต้น มีขนตามกิ่งอ่อน แผ่นใบด้านล่าง และก้านช่อดอก หูใบรูปเส้นด้าย ใบประกอบ 2 ชั้น ใบประกอบย่อยมี 1 คู่ มีต่อมระหว่างแกน ใบย่อยมี 3–6 คู่ ยาว 4–14 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก ก้านช่อโดดยาวได้ถึง 9 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศหรือดอกเพศผู้ มีขนสั้นหนานุ่ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 3.5–4.5 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกกัน รังไข่มีขน ฝักโค้ง ยาว 12–17 ซม. กว้าง 3.5–6 ซม. แห้งแตกอ้าออก มี 7–10 เมล็ด

การกระจายพันธุ์

พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทุกภาค ภาคใต้ถึงสุราษฎร์ธานี

เกร็ดความรู้

เปลือกมีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง ทางภาคเหนือใช้เคี้ยวกับหมาก หรือขูดใส่ลาบช่วยให้เนื้อแน่น ส่วน var. xylocarpa พบที่อินเดียและพม่า ใบเกลี้ยงกว่า และอับเรณูมีต่อม

แหล่งที่มา

สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) ฯ